พระประวัติ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระนามเดิม อัมพร ประสัตถพงศ์ ฉายา อมฺพโร เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงเริ่มดำรงตำแหน่งในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม แม่กองงานพระธรรมทูต
ชาติกำเนิด
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า อัมพร ประสัตถพงศ์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ณ ตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี พระชนกชื่อนับ ประสัตถพงศ์ พระชนนีชื่อตาล ประสัตถพงศ์ เป็นบุตรคนที่ 2 จากพี่น้องทั้งหมด 9 คน มีพระอนุชาหนึ่งในนั้นคือ พระเทพสุเมธี (ไสว วฑฺฒโน) เจ้าอาวาสวัดศรีสุริยวงศาราม จังหวัดราชบุรี ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินน้อยที่ 4 ตำบลโคกกระเทียม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แล้วมาศึกษาต่อที่โรงเรียนประชาบาลวัดพเนินพลูจนจบชั้น ป. 4 ในปี พ.ศ. 2480
อ่านเพิ่มเติม: พระประวัติ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
มาฆบูชา
"มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า"มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปฎิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
วันนัดพบผู้ใฝ่ธรรม ประจำปี ๒๕๖๐
เชิญร่วมงานปฏิบัติธรรม วันนัดพบผู้ใฝ่ธรรม ประจำปี ระหว่างวันที่ 1-7 กุมภาพันธ์ 2560
ที่วัดไตรสิกขาทลามลตาราม บ้านฝาง ตำบลแพด อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร
และ เดินธรรมยาตราจาริกไปกราบนมัสการองค์พระธาตุพนม ระหว่างวันที่ 7-17 กุมภาพันธ์ 2560
จากวัดไตรสิกขาทลามลตาราม สู่ องค์พระธาตุพนม ใช้เวลาในการเดิน 10 วัน
จึงขออาราธนานิมนต์ พระภิกษุ-สามเณร และเจริญพร อุบาสก-อุบาสิกา เข้าร่วมงานกุศลในครั้งนี้
ศีลห้า ราคามนุษย์
เช็คด่วน ว่า ความเป็นมนุษย์ของท่านเหลือเท่าไร..?
อุบาสกธรรม 5 ประการ (ธรรมสำหรับอุบาสก,อุบาสิกา)
.....ผู้เป็นอุบาสกอุบาสิกา ในพระศาสนานี้ ตั้งตนไว้ดีตามความสามารถของแต่ละท่าน จึงทำให้พระศาสนาของเราอยู่มาได้นาน และทนต่อการพิสูจน์ได้ดีกว่าศาสนาอื่น. เพราะมีธรรม ๕ ประการ ดังต่อไปนี้.
......อุบาสกธรรม 5 ประการ (ธรรมสำหรับอุบาสก,อุบาสิกา)......
อุบาสกธรรม 5 (qualities of an excellent lay disciple)
......อุบาสกธรรม หมายถึง ธรรมของอุบาสกอุบาสิกา ที่ดี คุณสมบัติหรือองค์คุณของอุบาสก,อุบาสิกา อย่างเยี่ยม คือ การเป็นอุบาสก,อุบาสิกา จะต้องปฏิบัติธรรม 5 ประการจัดว่าเป็นอุบาสก,อุบาสิกา ที่ดี ประกอบด้วย
อ่านเพิ่มเติม: อุบาสกธรรม 5 ประการ (ธรรมสำหรับอุบาสก,อุบาสิกา)