Get Adobe Flash player

คดีโลกคดีธรรม

 

 
 
 
 
 
ข้อความ
  • ARI Image Slider: "System - Ninja Shadowbox" plugin isn't installed.

"ศีลธรรม" คืออะไร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ศีลธรรมกลับมา สังคมสว่างไสว เพราะอะไร ทำไม อย่างไร?

คำว่า "ศีลธรรม" นี้คือสร้างความปรกติ, ศีละ แปลว่า ปรกติ อะไรที่มันทำให้เกิดความปรกติทั้งหมดนั้นจะเรียกว่า ศีลธรรม.

     ปรกติในส่วนบุคคล ปรกติสบายดี, ปรกติในครอบครัว, ปรกติในโลก โลกนี้ก็ดี, มันอยู่ที่ปรกติ ถ้าไม่ปรกติก็คือวุ่นวายและเดือดร้อน ฉะนั้น เราจงมีธรรมะกันในลักษณะนี้ คือรู้จักหน้าที่ที่จะทำให้เกิดความปรกติ

 

ท่านสาธุชน, ผู้สนใจทั้งหลาย

 

     คำว่า "ศีลธรรม" นี้คือสร้างความปรกติ, ศีละ แปลว่า ปรกติ; อะไรที่มันทำให้เกิดความปรกติทั้งหมดนั้นจะเรียกว่า ศีลธรรม.

 

     ปรกติในส่วนบุคคล ปรกติสบายดี, ปรกติในครอบครัว, ปรกติในโลก โลกนี้ก็ดี, มันอยู่ที่ปรกติ ถ้าไม่ปรกติก็คือวุ่นวายและเดือดร้อน; ฉะนั้น เราจงมีธรรมะกันในลักษณะนี้ คือรู้จักหน้าที่ที่จะทำให้เกิดความปรกติ

 

     ร่างกายนี้รู้เรื่องที่ทำให้เกิดความปรกติ มันก็ปรกติแหละ ไม่เจ็บ ไม่ไข้ ไม่เดือดร้อน

 

ไม่ทำผิดอะไร, บ้านเมืองก็เหมือนกัน โลกนี้ก็เหมือนกัน มันปรกติ มันไม่มีวิกฤติการณ์ใดๆ หลอก มันก็มีสันติภาพแหละ เพราะว่า โดยหลักธรรมชาติแท้ๆ ถ้าอย่ามีอะไรเข้าไปแทรกแซงมันสงบของมันเองตามธรรมชาติ

 

     ดังนั้น ท่านจึงถือเป็นหลักทั่วไปว่า โดยปรกติแล้ว ความสงบนั้นแหละเป็นพื้นฐานของสิ่งทั่วไป, ต่อเมื่อทำผิด มันจึงเกิดไม่ปรกติ คือวุ่นวาย เป็นทุกข์ขึ้นมา. ฉะนั้นถ้าเราอย่าทำผิดในข้อนี้สิ; อย่าสร้างกิเลสขึ้นมา ไอ้คนนี้มันก็ไม่เป็นข้า โดยจิตมันจะสงบ สะอาด จะสว่าง จะสงบ. นี่คือ ศีลธรรม; โลกนี้จะมีสันติภาพได้ เพราะมีศีลธรรม......

 

     ถ้าไม่มีศีลธรรม มันก็ผิดหมดแหละ, นี่ช่วยสังเกตดูให้ดี ถ้าไม่มีศีลธรรมประจำคนน่ะ ทุกอย่างจะผิดหมด ระบบเศรษฐกิจก็จะไม่ช่วยอะไรได้ จะสร้างปัญหา, ถ้าไม่มีศีลธรรม เศรษฐกิจนั่นแหละจะสร้างปัญหาเลวร้าย เพราะมันเห็นแก่ตัวนี่, เศรษฐกิจเมื่อไม่มีธรรมะควบคุม มันเป็นเครื่องมือสำหรับเห็นแก่ตัว เป็นเครื่องมือสำหรับเอาเปรียบผู้อื่น  ฉะนั้นจะแห้ปัญหาด้วยเศรษฐกิจที่ไม่มีศีลธรรมนั้นไม่มีทาง, พูดกันหนักหนาว่า จะแก้ปัญหาด้วยเศรษฐกิจ นี้มันหลับตาพูด  มันต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยเศรษฐกิจที่มีศีลธรรมโน่น...  แล้วเราก็จะไม่ทะเลาะกันด้วยเรื่องเศรษฐกิจ ไม่ต้องเกิดลัทธิที่เนื่องมาจากเศรษฐกิจมันไม่ตรงกัน.

 

     เรื่องการเมืองก็เหมือนกันแหละ มันเนื่องถึงกันแหละ  ถ้าการเมืองไม่มีศีลธรรม มันก็คือการทะเลาะกันอย่างเลวร้ายที่สุดของมนุษย์.

 

     คำว่า “การเมือง” นี้ มันจะจัดสันติภาพโดยไม่ต้องใช้อาชญา  บทนิยามของคำว่า “การเมือง” นี้คือจัดมนุษย์ให้อยู่กันเป็นสุขโดยไม่ต้องใช้อาชญา  ถ้าต้องใช้อาชญาอาวุธแล้วก็ไม่ใช่การเมือง  มันผิดอุดมคติ...   ถ้าการเมืองนำการใช้อาวุธ, อย่าใช้อาวุธให้มันผิด มันก็ไม่เกิดปัญหาอะไร นี่เราเรียกว่า การเมืองที่มีศีลธรรม.  การเมืองที่ไม่มีศีลธรรมก็คือสิ่งที่เลวร้ายที่สุด จะสร้างความขัดแย้งทุกๆกระเบียดนิ้วเลย....

 

     เดี๋ยวนี้ในโลก มีแต่การเมืองที่สร้างความขัดแย้ง ไม่มีการเมืองที่ว่าจะทำให้เกิดความประนีประนอมรักใคร่ผู้อื่น  เพราะว่าการศึกษามันก็ไม่ถูกต้อง มันสอนการเมืองในลักษณะที่ไม่ถูกต้อง.. การศึกษาชนิดที่ไม่ถูกต้องน่ะ มันสร้างคนมาสำหรับจะทะเลาะกันแหละ,  เดี๋ยวนี้การศึกษาในโลกมันไม่ได้สร้างมนุษย์ที่ว่าจะมาเป็นมิตรสหายกัน มันสร้างมาเป็นคู่แข่งกัน ก็ขัดแย้งกันตลอดไป...

 

     .....การศึกษามันไม่สร้างนักเศรษฐกิจที่ถูกต้อง คือมีศีลธรรม, มันไม่สร้างนักการเมืองที่ถูกต้อง คือมีศีลธรรม, ถ้าดูไปอีกทีว่า มันไม่สร้างนักปกครองที่มีศีลธรรม,  นักปกครองก็ยังมีตัวกู-ของกู ประโยชน์แก่ตัวกู-ของกู  มากกว่าที่จะเป็นประโยชน์ของบ้านเมือง  หรือของมนุษย์ส่วนรวม, นักเศรษฐกิจมันก็เพื่อตัวกู นักการเมืองมันก็เพื่อตัวกู อย่างดีมันก็เพื่อพรรคของกู.  ไม่เห็นนักการเมืองไหนมันทำเพื่อประเทศชาติ มันเพื่อตัวกูแหละพรรคเพื่อกูทั้งนั้นแหละ

 

     ทีนี้นักปกครองที่จะจัดบ้านจัดเมือง ก็อย่างเดียวกันอีกแหละ มันกลายเป็นอาชีพไปเสีย. ไม่กลายเป็นปูชนียบุคคล ไม่กลายเป็นหน้าที่ของปูชนียบุคคลที่มีอยู่ในโลก เพื่อทำให้โลกสงบสุข แล้วตัวเองเป็นปูชนียบุคคล มันกลายเป็นอาชีพชนิดหนึ่งไปเสีย การทำงานเพื่อเงินเดือน แล้วก็เพื่อตัวเองเท่านั้น มองเห็นมองเห็นอยู่แต่ตัวเองเท่านั้น ก็เรียกว่า การปกครองที่ไม่มีศีลธรรม. การปกครองที่มีประโยชน์ของผู้ปกครองเป็นใหญ่อย่างนี้ มันก็เป็นไปไม่ได้ มันก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยหรอก เพราะว่ามันเอาประโยชน์ของตนเป็นใหญ่ด้วยกันทุกคน

 

     ประชาธิปไตยนั้นน่ะ คือประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่  เขามักพูดกันว่า “ประชาธิปไตยคือประชาชนเป็นใหญ่”, อาตมาว่าไม่เห็นด้วย แล้วจะบ้าด้วยซ้ำไป. ประชาชนเป็นใหญ่มันเป็นไปไม่ได้หรอก, มันจะเอาประชาชนเป็นใหญ่อย่างไรได้ เพราะว่าแต่ละคนยังมีกิเลส, มันต้องเอาคนที่ไม่มีกิเลสนั่นมาจัดให้ประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ แล้วนั่นแหละคือประชาธิปไตย. ใครจัดก็ได้ ให้ประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่นั่นแหละคือประชาธิปไตย.

 

     .... ถ้าจะให้โลกนี้เป็นประชาธิปไตย ก็ต้องมีใครมาช่วยจัดให้ประโยชน์ของคนทั้งโลกนั่นเป็นใหญ่เหนือสิ่งใดหมด, แล้วเราก็ไม่มีเรื่องที่จะต้องทะเลาะวิวาทหรือขัดแย้งกัน.

 

     นี่ไม่มีศีลธรรมแล้ว ไม่มีทางที่จะมีสันติภาพ. เศรษฐกิจก็เป็นเศรษฐกิจสำหรับคดโกงเอาเปรียบ, การเมืองก็เป็นเครื่องมือสำหรับหลอกลวงกัน, การปกครองก็เป็นเพื่อประโยชน์ของผู้ปกครอง, มันก็ไม่มีทางไหนที่จะเกิดสันติภาพขึ้นมาได้.

 

     ถ้ามีศีลธรรม ถ้ามีศีลธรรม ถ้ามีศาสนา ถ้ามีธรรมะ, มันก็รักผู้อื่น.  นักเศรษฐกิจมันก็ทำประโยชน์เกิดขึ้นแก่มนุษย์, นักการเมืองมันก็ทำเพื่อประโยชน์เพื่อมนุษย์,  นักปกครองก็ปกครองเพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์, ไม่มีใครทำเพื่อตัวก็เพื่อพรรคของกู แต่ทำเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์, นั้นแหละความหมายของศีลธรรม หรือคุณค่าของศีลธรรม, เลยไม่มีปัญหาใดๆ. เศรษฐกิจก็ไม่มีปัญหา ถ้ามันมีศีลธรรม, การเมืองมันก็ไม่เกิดปัญหา ถ้ามันมีศีลธรรม การปกครองก็ไม่มีปัญหา ถ้ามันมีศีลธรรม

 

     ถ้าว่ามีการจัดให้โลกมีศีลธรรม มันก็หมดปัญหา, อยากจะให้มองให้ลึกลงไปว่า การจัดโลกให้มีศีลธรรมนั่นแหละ จะไม่มีการขัดแย้ง.  ขอให้มองเห็นอันนี้ว่าต้องช่วยกันจัดโลกให้มีศีลธรรม เรามีศีลธรรมให้เพื่อนมนุษย์เห็น เพื่อนมนุษย์ก็มีศีลธรรมให้คนอื่นเห็น จนมีศีลธรรมกันทุกคน แล้วใครมันจะฆ่าใครได้ หรือจะขโมยของใครได้ จะล่วงกาเมใครได้ จะโกหกหลอกลวงใครได้ ไม่ทำอะไรให้ใครระคายเคืองแม้แต่เล็กน้อย. นี่จัดโลกให้มีศีลธรรม

 

     จะจัดโลกด้วยความคิดเห็นแก่ส่วนตัวของแต่ละพรรคแต่ละพวกนั้นน่ะ มันต้องขัดแย้งแน่นอน..

 

     นี่มองให้ดีเถอะว่า ศาสนานั่นแหละจะช่วยได้ หรือคำว่าธรรมะนี่ก็คือศาสนา ศีลธรรมก็คือศาสนา ศาสนาก็คือธรรมะ ธรรมะก็คือศีลธรรม เราใช้แทนกันได้ คือสิ่งที่ทำให้เกิดความปรกติ คือความไม่เห็นแก่ตัว, ถ้าศาสนามา แล้วถือกันจริง, ความเห็นแก่ตัวก็ไม่เหลืออยู่ในโลกนี้, ศาสนามีแต่ทำให้คนรักกัน.

 

 

เข้าสู่ระบบ

สภาพุทธบริษัทคืออะไร

สถานที่รับสมัครสมาชิก

รายชื่อสถานที่รับสมัคร
สมาชิกสภาพุทธบริษัท
ทั่วประเทศไทย

สถานที่รับสมัครสมาชิกสภาพุทธบริษัท

Facebook

Google Plus

YouTube

อัลบั้มรูป

ใบสมัครสภาพุทธบริษัท

สถิติผู้เข้าชม

30354236
วันนี้
เมื่อวาน
อาทิตย์นี้
อาทิตย์ก่อน
เดือนนี้
เดือนก่อน
รวมทั้งหมด
3511
34599
132621
29986379
238703
1163838
30354236

Your IP: 85.208.96.204
Server Time: 2025-01-09 04:02:24

สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่โดย สภาพุทธบริษัท ภาคประชาสังคมจิตอาสา ๒๕๕๗

    

กำลังออนไลน์

มี 215 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์