Get Adobe Flash player

คดีโลกคดีธรรม

 

 
 
 
 
 

Facebook สภาพุทธบริษัท

 

วัดป่าจริยธรรม


วัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทยวัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทยวัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทย

วัดป่าจริยธรรม
วัดป่าจริยธรรม
วัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทยวัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทย

วัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทยวัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทยวัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทย

วัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทยวัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทยวัดป่าจริยธรรม
วัดป่าจริยธรรม

วัดป่าจริยธรรม
วัดป่าจริยธรรม
วัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทยวัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทย
ข้อความ
  • ARI Image Slider: "System - Ninja Shadowbox" plugin isn't installed.

วันอัฎฐมีบูชา ๒๕๖๓

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ๘ วัน มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีแห่งกรุงกุสินารา วันนั้นเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความสังเวชสลดใจ และวิปโยคโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฏฐมีนั้นเวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนบางส่วน โดยเฉพาะพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาแห่งวัดนั้น ๆ ได้พร้อมกันประกอบพิธีบูชาขึ้น เป็นการเฉพาะภายในวัด เช่นที่ปฏิบัติกันอยู่ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ เป็นต้น แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐาน ปัจจุบันนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่

อ่านเพิ่มเติม: วันอัฎฐมีบูชา ๒๕๖๓

ลายคันนาบนจีวร


ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช ก็มีหลักฐานว่า ทรงใช้ผ้านุ่งห่มที่เรียกว่าจีวร แต่ในช่วงต้นพุทธกาล พระภิกษุยังคงใช้ผ้าที่หาได้มาเย็บต่อๆกัน ไม่เป็นระเบียบ หรือบางครั้งภิกษุบางรูปได้รับถวายผ้าอย่างดีจากคหบดีก็มีการถูกลักขโมยบ่อยครั้ง เนื่องด้วยผ้าเป็นสิ่งที่หายากในสมัยพุทธกาล

จนต่อมาพระพุทธเจ้าได้ทอดพระเนตรนาของชาวมคธ จึงทรงดำริให้ตัดผ้าจีวร เป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ มาต่อกัน จึงมีลักษณะเป็นผ้าที่เศร้าหมอง คือผู้อื่นมักไม่ต้องการไปตัดเย็บอีก เหมาะสมกับสมณะ ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ ที่เย็บต่อกันนั้น ปรากฏลวดลายเป็นลายคันนา ออกแบบโดยพระอานนท์ ดังปรากฏข้อความในพระวินัยปิฎก ว่า

"อานนท์ เธอเห็นนาของชาวมคธ ซึ่งเขาพูนดินขึ้นเป็นคันนาสี่เหลี่ยม พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ พูนคันนาเชื่อมกันทาง 4 แพร่ง ตามที่ซึ่ง คันนากับคันนา ผ่านตัดกันไปหรือไม่? ... เธอสามารถแต่งจีวรของภิกษุทั้งหลาย ให้มีรูปอย่างนั้นได้หรือไม่?"

พระอานนท์ตอบว่า "สามารถ พระพุทธเจ้าข้า."

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ทักขิณาคิรีชนบทตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จ กลับมาพระนครราชคฤห์อีก ครั้งนั้นท่านพระอานนท์แต่งจีวรสำหรับภิกษุหลายรูป ครั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้กราบทูลว่า

"ขอพระผู้มีพระภาคจงทอดพระเนตรจีวรที่ข้าพระพุทธเจ้าแต่งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า."

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

"ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด อานนท์ได้ซาบซึ้ง ถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำที่เรากล่าวย่อได้โดยกว้างขวาง ...จีวรจักเป็นผ้าที่ตัดแล้ว เศร้าหมองด้วยศัสตรา สมควรแก่สมณะ และพวกศัตรูไม่ต้องการ"

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา

                   "อาสาฬหบูชา" (อา-สาน-หะ-บู-ชา/อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา) ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห (เดือน ๘ ทางจันทรคติ) กับ บูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘ หรือเรียกให้เต็มว่า อาสาฬหบูรณมีบูชา โดยสรุป วันอาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญ เดือน ๘ หรือ การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันเพ็ญ เดือน ๘
              
 คือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๘ ก่อนวันเข้าพรรษา ๑ วัน 
หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน ๖ แล้วได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้งจึงทรงพิจารณา แบ่งบุคคลออกเป็น ๔ ประเภท คือ   

         ๑. อุคฆติตัญญู ผู้ที่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ทันทีทันใดในขณะที่มีผู้สั่งสอน เปรียบเหมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำแล้ว พร้อมที่จะบานเมื่อได้ได้รับแสงอาทิตย์ในวันนั้น 
         ๒. วิปัจจิตัญญ
ู สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ ต่อเมื่อท่านได้ขยายความให้พิสดารออกไป เปรียบเหมือนดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอระดับน้ำ จะบานในวันรุ่งขึ้น 
         ๓. เนยยะ
 ผู้ที่พากเพียรพยายาม ฟัง คิด ถาม ท่องอยู่เสมอไม่ทอดทิ้ง จึงได้รู้ธรรมวิเศษเปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังไม่โผล่ขึ้นจากน้ำ แต่เมื่อได้รับการหล่อเลี้ยงจากน้ำแล้ว ก็ย่อมจะโผล่และบานขึ้นในวันต่อ ๆ ไป 
         ๔. ปทปรมะ
 ผู้ที่แม้ฟัง คิด ถาม ท่องแล้ว ก็ไม่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำกับเปือกตม รังแต่จะเป็นอาหารเต่าและปลา

         เมื่อทรงเล็งเห็นเหตุนี้แล้ว พระพุทธองค์ตกลงพระทัยที่จะสอนบุคคลประเภทแรกก่อน จึงเสร็จจากตำบลพระศรีมหาโพธิ ถึงกรุงพาราณสี ในตอนเย็นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน อาสาฬหะ ประทับแรมอยู่กับพระปัญจวัคคีย์นั้น รุ่งขึ้นวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตตสูตรโปรดพระปัญจวัคคีย์ สรุปลงด้วยอริยสัจ ๔ ได้แก่ 

    ๑. ทุกข ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ 
    ๒. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ 
    ๓. นิโรธ ความดับทุกข์ 
    ๔. มรรค ทางที่จะปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ 

อ่านเพิ่มเติม: วันอาสาฬหบูชา

จะจัดฉลอง ๑๐๐ ปี ธงชาติไทยทำไม?

.....ขออนุญาตนำคำตอบของ คุณพฤฒิพล ประชุมผล มาโพสต์. เนื่องจากตอบได้ชัดเจนตรงประเด็นมาก.

 

 

.....กล้าถาม ก็ยินดีตอบ ... ชอบด้วย ดีกว่าคนอยากถามแต่ไม่กล้าถามแล้วคาใจอยู่อย่างนั้น

.....มีแชทเข้ามาถามว่า : "จะจัดฉลอง ๑๐๐ ปี ธงชาติไทยทำไม?
ธงชาติก็คือ ธงชาติ จะร้อยปี พันปี ก็คือธงชาติไทย"
ตอบ ... เหตุผลหลักๆ ของการจัดฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี ธงชาติไทยมีดังนี้
.....๑. ธงไตรรงค์ ธงชาติไทย เป็นธงชาติที่พระมหากษัตริย์ทรงออกแบบ ไม่ใช่เกิดจากการประกวดเหมือนอย่างธงชาติประเทศอื่นๆ ดังนั้นเมือครบรอบหนึ่งศตวรรษของการประกาศใช้ (ฝรั่งเรียกว่า Centennial) จึงถือว่ามีความสำคัญและเป็นการร้อยใจร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ที่ได้ทรงออกแบบและประกาศให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย
.....๒. ธงชาติถือเป็นสัญลักษณ์สูงสุดของชาติที่ทุกประเทศยอมรับและถือเป็นเกียรติยศสูงสุดที่แสดงถึงการมีเอกราชของชาตินั้นๆ และการที่ประเทศไทยมีการใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทยครบรอบ ๑๐๐ ปี โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใดๆ ถือได้ว่าเป็นเกียรติยศสูงสุดของชาติไทยที่ประเทศไทยเรามีเอกราชผ่านการแสดงออกภายใต้สัญลักษณ์ผืนธงไตรรงค์
.....๓. การจัดฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี ธงชาติไทยถือเป็นโอกาสเหมาะที่จะให้ความรู้เรื่องพัฒนาการธงชาติไทยที่ถูกต้องกับคนไทยทั่วประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับคำสั่งที่ประกาศโดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขอให้ทุกภาคส่วนร่วมส่งเสริมความรู้เรื่องพัฒนาการธงชาติไทยในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย .....(ถ้าพูดกันตามตรง ถ้าถามว่าผู้ใดให้ความหมายบนแถบสีธงชาติไทยว่า ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ก็ตอบกันไม่ได้ ... หรือเมื่อถามว่าทำไมต้องเปลี่ยนมาใช้ธงไตรรงค์แทนธงช้างเผือก ก็ตอบกันไม่ได้ ... หรือแม้แต่คำถามสำคัญที่ว่าผู้ใดออกแบบธงชาติไทย คนไทยเกือบทั้งหมดก็ตอบไม่ได้ ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญที่สุด)
.....*สุดท้าย ... การฉลอง ๑๐๐ ปี ธงชาติไทยเป็นเรื่องของความภาคภูมิใจที่ชาติไทยเรามีเอกราชและมีธงชาติเป็นของเราเองมาโดยตลอด ๒๓๕ ปีบนแผ่นดินราชวงศ์จักรีครับ ประเทศไทยไม่เคยใช้ธงชาติไทยโดยการบังคับตามรูปแบบของประเทศเจ้าของอาณานิคม ดังนั้นคนไทยควรภาคภูมิใจที่เรามีแผ่นดิน เรามีชาติ เรามีเอกราช และเรามีธงชาติเป็นของเราเอง ซึ่งออกแบบโดยพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสยามมาโดยตลอดเวลาที่ผ่านมา.
.....แล้วอย่าลืม กดเข้าไปดูคลิปการให้สัมภาษณ์ เรื่อง ธงชาติไทย "แบบจัดเต็ม" กันด้วยนะ ที่ https://youtu.be/DozGC0ZXuMY

สงกรานต์ ๒๕๖๐

นางสงกรานต์ปี 2560 มีนามว่า "กาฬกิณีเทวี" ทรงพาหุรัด ทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา หัตถ์ขวาทรงขอช้าง หัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จไสยาสน์หลับเนตร(นอนหลับตา) มาเหนือหลังกุญชร(ช้าง) เป็นพาหนะ เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ อังคาร เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 300 ห่า ตกในเขาจักรวาล 120 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 90 ห่า ตกในมหาสมุทร 60 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 30 ห่า

อ่านเพิ่มเติม: สงกรานต์ ๒๕๖๐

เข้าสู่ระบบ

สภาพุทธบริษัทคืออะไร

สถานที่รับสมัครสมาชิก

รายชื่อสถานที่รับสมัคร
สมาชิกสภาพุทธบริษัท
ทั่วประเทศไทย

สถานที่รับสมัครสมาชิกสภาพุทธบริษัท

Facebook

Google Plus

YouTube

อัลบั้มรูป

ใบสมัครสภาพุทธบริษัท

สถิติผู้เข้าชม

27847319
วันนี้
เมื่อวาน
อาทิตย์นี้
อาทิตย์ก่อน
เดือนนี้
เดือนก่อน
รวมทั้งหมด
14144
25746
65042
27573550
126655
894031
27847319

Your IP: 52.167.144.179
Server Time: 2024-11-05 07:03:37

สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่โดย สภาพุทธบริษัท ภาคประชาสังคมจิตอาสา ๒๕๕๗

    

กำลังออนไลน์

มี 318 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์